science cmru logo

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Faculty of Science and Technology Chiang Mai Rajabhat University

SCIENCE CMRU

logo หลักสูตร

สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์

" คหกรรมศาสตร์สรรค์สร้างแนวคิดในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อสร้างอาชีพคหกรรมศาสตร์สู่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน "

คหกรรมศาสตร์เป็นวิชาชีพที่นำองค์ความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาบูรณาการกับวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น พื้นฐานทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตในด้านงานอาหารและโภชนาการ ด้านงานการออกแบบแฟชั่น สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ที่มีบทบาทสําคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างงานอาชีพ สร้างความมั่นคงของสถาบันครอบครัวและสังคมอย่างยั่งยืน

  1. เรียนจบแล้วทำงานอะไร
  2. กลุ่มวิชาอาหารและโภชนาการ
         1) นักปฏิบัติงานด้านอาหารในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ
         2) เจ้าของกิจการการประกอบธุรกิจส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับอาหารและโภชนาการ
         3) นักวิชาการด้านอาหารและโภชนาการในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
    กลุ่มวิชาการออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ
         1) พนักงานในหน่วยงานภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป เช่น นักออกแบบเสื้อผ้า นักควบคุมคุณภาพเสื้อผ้า และช่างทำแบบตัดเย็บ เป็นต้น
         2) เจ้าของกิจการการประกอบธุรกิจส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ
         3) นักวิชาการด้านการออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน

  1. ชื่อปริญญา
  2. icon ปริญญา
    วิทยาศาสตรบัณฑิต (คหกรรมศาสตร์)
    Bachelor of Science (Home Economics)
  3. icon ภาควิชา
    ภาควิชาคหกรรมศาสตร์
    Department of Home Economics
  4. ค่าเทอม
  5. icon ปริญญา
    เหมาจ่ายเทอมละ
    8,000 บาท
  6. รายละเอียดหลักสูตร (มคอ.2)
  7. ตัวอย่างรายวิชาที่สำคัญ
  8. 1) ศิลปะในงานคหกรรมศาสตร์
    2) ขนมไทย
    3) การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและการประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัส
    4) การออกแบบแฟชั่น 1 และ 2
    5) การพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอพื้นบ้าน
เรื่องเล่าจาก รุ่นพี่
นายสงกรานต์ แซ่ห่าน
นายสงกรานต์ แซ่ห่าน

นักศึกษาชั้นปีที่ 4

... Songkran Sahan

การที่ได้เรียนร่วมกับเพื่อนๆ ต่างสถาบัน ที่ได้มาเรียนร่วมกัน ได้สร้างมิตรภาพร่วมกันไม่ใช่เฉพาะแค่ปีเดียวกันแต่เป็นทุกชั้นปี นอกเหนือจากนั้นก็ยังมีอาจารย์ในภาควิชาที่คอยสอน แนะนำ ให้ความรู้ทั้งเรื่องในห้องเรียน และประสบการณ์ต่างๆ ที่อาจารย์แต่ละท่านได้พบเจอมา ซึ่งทำให้ผมได้ทั้งความรู้ทั้งในและนอกห้องเรียนไปในตัว "เรียนในสิ่งที่ชอบ ทำในสิ่งที่รัก พยายามทำให้ถึงจุดที่เราทำแล้วมีความสุข" นั่นคือสิ่งที่ดีที่สุดที่ได้จากสาขาวิชาคหกรรมศาสตร์นี้ครับ

นายภาณุวิชญ์ ไหลทุ่ง
นายภาณุวิชญ์ ไหลทุ่ง

นักศึกษาชั้นปีที่ 4

... Phanuwit Laithung

ที่สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ของเรานั้น เราอยู่กับแบบครอบครัว มีอาจารย์คอยช่วยเหลือแนะนำสิ่งต่างๆ และคุยได้ทุกเรื่อง และยังมีเพื่อนๆ ที่คอยช่วยเหลือเรา ในด้านการเรียนนั้นมีวิชาเรียนต่างๆ ที่น่าใจและที่เป็นวิชาปฏิบัติเพราะเราได้ลงมือทำจริง ในเรื่องกิจกรรมต่างๆ ทางสาขาและอาจารย์ทุกท่านก็คอยซัพพอร์ตอยู่เสมอ หากใครอยากรู้มากว่านี้ก็ต้องลองมาเรียน และมาลงมือถึงจะรู้ว่ามีสิ่งที่น่าประทับในที่แห่งนี้อีกมากมาย และพี่หวังว่าเราจะมาเป็นครอบครัวเดียวกันนะ

นายนัทวุฒิ บุญทาทอง
นายนัทวุฒิ บุญทาทอง

นักศึกษาชั้นปีที่ 4

... natthawut boonthathong

ที่สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ของเรานั้น เราอยู่กับแบบครอบครัว มีอาจารย์คอยช่วยเหลือแนะนำสิ่งต่างๆ และคุยได้ทุกเรื่อง และยังมีเพื่อนๆ ที่คอยช่วยเหลือเรา ในด้านการเรียนนั้นมีวิชาเรียนต่างๆ ที่น่าใจและที่เป็นวิชาปฏิบัติเพราะเราได้ลงมือทำจริง ในเรื่องกิจกรรมต่างๆ ทางสาขาและอาจารย์ทุกท่านก็คอยซัพพอร์ตอยู่เสมอ หากใครอยากรู้มากว่านี้ก็ต้องลองมาเรียน และมาลงมือถึงจะรู้ว่ามีสิ่งที่น่าประทับในที่แห่งนี้อีกมากมาย และพี่หวังว่าเราจะมาเป็นครอบครัวเดียวกันนะ

นางสาวกัญญ์วรา อานิล
นางสาวกัญญ์วรา อานิล

นักศึกษาชั้นปีที่ 4

... Aomoon Arnin

ประทับใจในเรื่องของการเรียนตัดเย็บเสื้อผ้า และการสร้างแพทเทิร์นต้นแบบ มันทำเราได้เข้าใจขั้นตอนของการผลิตเสื้อผ้าขึ้นมา สามารถนำเทคนิคในการเรียนไปปรับใช้กับหน้าที่การงานในอนาคตได้ ประทับใจเรื่องการขอคำปรึกษาจากอาจารย์ในเวลาที่เรามีปัญหา อาจารย์ทุกท่านสามารถพูดคุย และรับฟังปัญหาได้ทุกเรื่อง พร้อมทั้งให้คำแนะนำช่วยแก้ไขปัญหาได้ดี

นางสาวเจนนิสา หอมนาน
นางสาวเจนนิสา หอมนาน

นักศึกษาชั้นปีที่ 4

... Jennisa Homnan

การเรียนการสอนในสาขาวิชา เน้นการปฏิบัติจริงเพื่อให้มองเห็นถึงวัตถุประสงค์ของการสอนของรายวิชา ได้ลงมือทำตั้งแต่การวางแผนวิเคราะห์จนกระทั่งการลงมือตัดเย็บซึ่งล้วนเป็นประโยชน์ที่จะสามารถนำมาให้ต่อยอดได้ในอนาคตได้เป็นอย่างดี

ความในใจของ ศิษย์เก่า
นายสาละ ศักดาเดช
นายสาละ ศักดาเดช

Chef de partie โรงแรม เลอ เมอริเดียน

... Waii Sala

ที่สาขาคหกรรม เป็นสาขาที่เปิดกว้างทางความคิด ให้โอกาสกับนักศึกษาได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์และแสดงความเป็นตัวของตัวเอง อาจารย์ก็ให้วิชาความรู้ ประสบการณ์และยังคอยให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาได้เป็นอย่างดี ดูแลเหมือนดั่งครอบครัวเดียวกัน

นายนัฐกัณฑ์ ใจเตี้ย
นายนัฐกัณฑ์ ใจเตี้ย

Head chef Le’bistro

... Nuttagun Gumnerdtula

สิ่งที่ได้จากหลักสูตรนี้ไม่ใช่ได้เพียงองค์ความรู้ในตำราเท่านั้น แต่สิ่งที่ได้มากกว่านั้นก็คือ ความรัก ความอบอุ่น ความเอาใจใส่จากอาจารย์ เพื่อน และบุคลากรในภาควิชา ที่มอบความรู้สึกเป็นกันเองตลอดเวลาเหมือนเป็นบ้านหลังที่สองที่เต็มไปด้วยไมตรีจิต ความผูกพันทางจิตใจ และนอกเหนือจากนั้น ทักษะองค์ความรู้ที่ได้เรียนมา ไม่ว่าจะเป็นการทำอาหาร การวิจัยด้านอาหาร สิ่งเหล่านี้เป็นตัวเปิดโลกทัศน์ที่กว้างใหญ่ให้กับตัวเองและองค์ความรู้ที่ได้มานั้น ยังสามารถนำไปปรับใช้และต่อยอดในการทำงาน การดำเนินชีวิต ดีใจที่ได้ก้าวเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสาขาคหกรรมศาสตร์ครับ

นายพงศ์สถิตย์ บิดาหก
นายพงศ์สถิตย์ บิดาหก

ช่างเย็บผ้า, อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

... Pongsatit Bidahok

1. มิตรภาพ เรียนสาขานี้เราไม่ได้มีการแบ่งแยกเอก เรารวมกันเป็นคหกรรมศาสตร์
2. การช่วยเหลือกันของเพื่อนๆ ทุกคนจะคอยช่วยพยุงกันและกัน ค่อยช่วยเหลือกันทั้งการเรียนและชีวิตส่วนตัวในบางเรื่อง
3. อาจารย์คอยดูแลเอาใจใส่นิสิตเป็นอย่างดีและพร้อมให้คำปรึกษาทุกครั้งเมื่อมีปัญหา

นายณัฐกร เป็งใย
นายณัฐกร เป็งใย

อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

... Natthakorn Pengyai

ผมมีความประทับใจต่อภาควิชาคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เพราะที่นี่เป็นเหมือนกับบ้านหลังที่สองของผม ท่านคณาจารย์ทุกท่านได้อบรมบ่มเพาะและสั่งสมองค์ความรู้ด้วยความเมตากรุณาศิษย์อย่างทั่วถึง พร้อมทั้งคอยหยิบยื่นโอกาสและชี้แนะหนทางแห่งความสำเร็จอยู่เสมอ และเมื่อจบการศึกษายังคงมีความรักความคิดถึง อีกทั้งยังคอยประชาสัมพันธ์ในกลุ่มศิษย์เก่าเกี่ยวกับสถานที่รับสมัครงานอีกด้วย

พบปะ คณาจารย์

คณาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร วท.บ.คหกรรมศาสตร์

อ.ศิริจันทร์ อุปาละ

อ.ศิริจันทร์ อุปาละ

ประธานหลักสูตร

ความเชี่ยวชาญ
การพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม, การจัดการกระบวนผลิตเครื่องนุ่งห่ม, การพัฒนางานหัตถกรรมเย็บ ปัก ถัก ร้อย วัสดุสิ่งทอ

ผศ.จินตนา อินภักดี

ผศ.จินตนา อินภักดี

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ความเชี่ยวชาญ
การพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอ, การออกแบบและการตัดเย็บ, มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)

อ.ดร.ธัญนันท์ ฤทธิ์มณี

อ.ดร.ธัญนันท์ ฤทธิ์มณี

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ความเชี่ยวชาญ
เทคโนโลยีการแปรรูปอาหารจากผลิตผลทางการเกษตร, การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร, การถนอมอาหารและการแปรรูปอาหาร, ระบบมาตรฐานการผลิตอาหารที่ดี

อ.มยุรี ชมภูงาม

อ.มยุรี ชมภูงาม

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ความเชี่ยวชาญ
การประกอบอาหารไทย และอาหารพื้นบ้าน, การประกอบขนมอบและการแต่งหน้าเค้ก, การประกอบขนมไทย และอาหารว่าง,การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารและแปรรูปอาหารจากวัตถุดิบท้องถิ่น

อ.สิขเรศ คงแก้ว

อ.สิขเรศ คงแก้ว

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ความเชี่ยวชาญ
ศาสตร์ของโภชนาการ, การประกอบอาหารไทยและขนมไทย, การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาจากวัตถุดิบท้องถิ่น

อ.จิราพร ชุมชิต

อ.จิราพร ชุมชิต

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ความเชี่ยวชาญ
การฟอก ย้อม และพิมพ์สิ่งทอ, การย้อมและพิมพ์สิ่งทอด้วยสีธรรมชาติ, การพัฒนาผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม, การพัฒนากระดาษและบรรจุภัณฑ์จากวัสดุเหลือทิ้ง



ภาพกิจกรรม / ผลงานนักศึกษาและอาจารย์